เมื่อมีการปิดงบปลายปี ทาง Auditor (ของบริษัทที่เป็นผู้ลงทุน) จะขอให้เราทำ Financial Projection ด้วย DCF Method 10 ปี เพื่อดูว่า Valuation ณ ปัจจุบันเป็นเท่าไหร่ เพื่อตัดสินใจว่าจะทำการด้อยค่าของสินทรัพย์หรือไม่ (Impairment of asset) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบัญชีบริษัทของนักลงทุนด้วย

สำหรับใครที่ต้องการอ่านเฉพาะบางหัวข้อ สามารถกดเลือกอ่านได้ที่นี่ครับ

เนื้อหา

Company Valuation (มูลค่าบริษัท) ของนักลงทุน vs. ผู้ประกอบการ

DCF หรือการคิดลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow) เป็นตัวเลขที่แสดงถึงมูลค่าความถูกแพงของกิจการ โดยการคิดลดกระแสเงินสดจัดเป็นการประเมินมูลค่าแบบสมบูรณ์ (Absolute valuation) หมายถึง ตัวเลขที่ได้เป็นตัวเลขที่สมบูรณ์ในตัวเอง สามารถบ่งบอกถึงมูลค่าของกิจการได้โดยไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับกิจการอื่นใด

เคยทำ 10-year DCF Financial projection เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง เพราะต้องเร่งส่งให้ Auditor ดู ซึ่งผู้ประกอบการก็จะคำนวนแบบมองโลกในแง่ดี อนาคตสดใส โตวันโตคืน มีกำไรสวยงามในอนาคต พอส่งไปเสร็จ Auditor ไม่เชื่อ! และให้ด้อยค่าสินทรัพย์ (ในส่วนเงินลงทุนที่ลงในบริษัท Startup) สร้างความลำบากใจให้กับนักลงทุน เลยนึกย้อนกลับไปสมัยที่ทำงานด้านการลงทุน และบริษัทลงทุนในกองทุนที่ลงทุนใน Startup ทั่วโลก กองนึงลงทุนไป 300 บริษัท พอสิ้นปีก็จะรายงานผลประกอบการมาว่าขอ Write off (ตัดออกจากบัญชี ก็คือบริษัทเจ๊ง) ปีละ 100 บริษัท ลงทุนเพิ่มอีก 50 บริษัท ในรายงานจะมีรายการตัวเลขสวยงามของ Net Asset Value (NAV), Internal Rate of Return% (IRR) ซึ่งจะบอกว่าเงินลงทุนที่ลงไปนั้น งอกเงย ออกดอกออกผล มีมูลค่าเพิ่มเป็นเท่าไหร่แล้ว

การคำนวน Net Asset Value

สูตรคำนวณ Net Asset Valuation

เมื่อเราเจาะลึกลงไปในรายงาน ก็พบคำศัพท์ที่น่าสนใจเช่น Unrealized Capital Gain (กำไรที่เกิดจากมูลค่าบริษัทที่เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่สามารถรับรู้ (Realize/Recognize) เป็นรายได้ทางบัญชีได้ เพราะตราบใดที่ยังไม่ถูกขายจริง (หรือเข้าตลาดหลักทรัพย์) Valuation ก็เป็นเพียงตัวเลขสมมติเท่านั้น ซึ่งขอแบ่งเป็นสามกลุ่ม

  1. สำหรับบริษัทที่ IPO เข้าตลาดเรียบร้อย อันนี้ Valuation (ในตลาดเรียก Market Cap) จะชัดเจนโปร่งใสมาก เพราะมีตัวเลขมูลค่าชัดเจน ตรวจสอบได้ หุ้นซื้อขายได้จริง มีสภาพคล่อง (Liquidity) หรือบริษัทที่ถูกซื้อกิจการไปแล้ว (Acquisition) ก็จะมีตัวเลขซื้อขายชัดเจนเช่นกัน
  2. ถ้าบริษัทที่ยังไม่เข้าตลาด (Private company) แต่มีการ Raised fund มาแล้วโดย Trusted 3rd party investor ก็จะใช้ Valuation ที่นักลงทุนในรอบล่าสุด ยอมจ่ายเป็นตัวอ้างอิง ซึ่งถ้ามูลค่าเพิ่มขึ้น ก็จะถือเป็น Unrealized Gain ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่ยังไม่สามารถรับรู้เป็นกำไรทางบัญชีได้อยู่ดี เพราะไม่รู้ว่าถ้าบริษัทถูกซื้อจริงๆ ผู้ซื้อจะยอมจ่ายที่ราคานี้จริงหรือเปล่า ซึ่งอาจมากว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ หรือ จะมีใครมาซื้อหรือเปล่า
  3. ถ้าบริษัทที่ยังไม่ได้ Raise Fund (เพิ่มอีก หลังจากที่กองทุนเข้าลงทุนแล้ว) ทางกองทุนก็จะคำนวน Fair Market Value​ เพื่อหามูลค่าปัจจุบันของแต่ละบริษัทที่ลงทุนไป ซึ่งก็เดาว่า ต้องมีใครสักคนตั้งมานั่งทำ Financial Projection 10 ปี (เหมือนเราตอนนี้นี่ล่ะ) เสร็จแล้วก็ใช้ตัวเลข Valuation ที่ได้ มาคำนวนเป็น IRR%, NAV ให้นักลงทุนในกองทุนดูให้สบายใจอีกที
Company Valuation มูลค่าบริษัท ใช้ DCF หรือการคิดลดกระแสเงินสด

สัดส่วนโดยธรรมชาติคือ กลุ่ม 3 เยอะสุด 2 น้อยลงมา และ 1 แทบไม่มี

สรุปคือ Valuation เป็นเพียงตัวเลขสมมติในจินตนาการ ของผู้ซื้อและผู้ขาย (นักลงทุนและผู้ประกอบการ) ถ้าเชื่อว่าอนาคตจะดี (ร่วมกัน) ​ตัวเลขก็จะสูง ถ้าคิดว่าอนาคตจะแย่ ตัวเลขก็จะต่ำ

หุ้น 20% ของบริษัทที่ไร้อนาคต มันก็คือ 0 ในขณะที่ หุ้น 1% ของบริษัทที่อนาคตสดใส อาจจะเป็นร้อยล้านก็ได้

หากสนใจบริการประเมินมูลค่ากิจการและตรวจสอบฐานะกิจการเพื่อซื้อขาย (Business Valuation & Due diligence) สามารถดูรายละเอียดบริการทั้งหมดของเรา หรือติดต่อ Plusitive Accounting ได้ ผ่าน Line ID : plusitiveaccounting

บทความโดยคุณ สาโรจน์ อธิวิทวัส ผู้ก่อตั้ง Wisible โปรแกรมบริหารงานขายสำหรับธุรกิจ B2B

เรียบเรียงโดย Plusitive Accounting Team