M&A คือ อะไร หลายท่านเคยได้ยินคำนี้มามาก แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันครับ

สำหรับใครที่ต้องการอ่านเฉพาะบางหัวข้อ สามารถกดเลือกอ่านได้ที่นี่ครับ

เนื้อหา

M&A ย่อมาจาก Mergers and Acquisitions

  • Mergers คือ บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกันแล้วเกิดเป็นบริษัทใหม่ ซึ่งบริษัทเดิมทั้ง 2 บริษัทที่ควบรวมกัน ก็จะเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ควบรวมกับ บริษัท B เกิดเป็นบริษัทใหม่ที่ชื่อ AB
  • Acquisitions คือ บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด ของอีกบริษัทหนึ่ง โดยบริษัทที่เข้าซื้อจะยังคงเป็นบริษัทเดิม ไม่ได้ยุบรวมกันแล้วเกิดเป็นบริษัทใหม่
    ซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีด้วยกัน

    • Share Acquisition คือ การที่ผู้ซื้อเข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทบางส่วน หรือทั้งหมด
    • Asset Acquisition, Business Acquisition คือ การที่ผู้ซื้อเข้ามาซื้อทรัพย์สิน, หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมดของกิจการ

M&A กับเหตุผลที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์นี้

  • M&A เสริมการเติบโตให้กับบริษัท
    การเข้าควบรวมกิจการคู่แข่งที่อยู่ใน “ธุรกิจเดียวกัน” จะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดได้ทันทีโดยไม่ต้องไปเสียเวลาลงทุนพัฒนาสินค้า ทดลองตลาด หรือจ้างพนักงานเพิ่ม และอีกกลยุทธ์ คือ การควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นที่อยู่ใน “ธุรกิจใหม่” ก็สามารถสร้างการเติบโตจากภายนอกกิจการ หรือที่เรียกว่า Inorganic Growth ได้
  • M&A ช่วยเพิ่มอำนาจ และผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ เมื่อบริษัทควบรวมกิจการแล้ว  จะสามารถใช้ทรัพยากรและจุดแข็งต่าง ๆ ของแต่ละบริษัทร่วมกัน ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมให้ลดลงอีกด้วย
  • M&A เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ เช่น การที่บริษัทขนาดใหญ่มีเงินทุนสูง ควบรวมกับบริษัทขนาดเล็กที่อาจมีสินค้า หรือองค์ความรู้ที่ดี แต่กำลังประสบปัญหาด้านการเงิน ซึ่งการควบรวมกับธุรกิจขนาดใหญ่ จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กที่กำลังประสบปัญหานั้นมีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น
M&A ย่อมาจาก Mergers and Acquisitions คือ การควบรวมกิจการ

ตัวอย่าง M&A ของแบรนด์ที่เรารู้จัก

12 ปีก่อน เควิน ซิสตรอม (Kevin Systrom) ได้สร้าง Instagram แอพโซเชียลมีเดียยอดนิยมของวัยรุ่น จากนั้นผ่านไปเพียง 2 ปี เขาตัดสินใจขายธุรกิจของเขาซึ่งตอนนั้นมีพนักงานในบริษัทเพียง 13 คน ให้แก่ Facebook ด้วยมูลค่ากว่า 32,000 ล้านบาท ถ้าเราคิดว่า เควิน ซิสตรอม เก่งที่สามารถสร้างเงินเป็นหมื่นล้านได้ภายใน 2 ปี แต่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก อาจจะเก่งกว่า เพราะหลักจากการควบควบกิจการ มูลค่าปัจจุบันของ Instagram คือ 3,200,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 100 เท่าจากราคาที่ขายให้กับ Facebook เราเรียกการควบรวมกิจการนี้ว่า M&A แบบ Asset Acquisition หรือ  Business Acquisition

เหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้เกิดขึ้นกับ Snapchat แต่ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน นั่นคือหลังจาก Facebook ซื้อ Instagram ไปได้เพียงปีเดียว Facebook ก็ยื่นซื้อบริษัท Snap Inc. ด้วยราคา 100,000 ล้านบาท มากกว่าที่ซื้อ Instagram 3 เท่า ซึ่งแอพ Snapchat ถือเป็นที่นิยมกันในหมู่วัยรุ่นอเมริกันมาก แต่ข้อเสนอนี้ได้ถูกปฏิเสธทันทีโดยนายอีวาน สปีเกล (Evan Thomas Spiegel) ผู้ก่อตั้งบริษัท Snap Inc. เหตุผล คือ เขาไม่สนใจกำไรระยะสั้นจากการขายธุรกิจที่เขาสร้างมาเอง ดูเหมือนดีลนี้ อีวาน สปีเกล อาจจะคิดถูก เพราะเมื่อต้นปีที่แล้ว Snap Inc. ระดมทุนเข้าตลาด NYSE มาด้วยมูลค่าสูงถึง 1,000,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่ Facebook เสนอซื้อถึง 10 เท่า สิ่งที่เราได้เห็นคือ ความแน่วแน่ของอีวาน สปีเกล ที่รู้ว่าสิ่งที่ตนได้สร้างขึ้นมาคืออะไร และเชื่อในธุรกิจของตนเองจนถึงที่สุด

45 ปีก่อน.. นายโรนัลด์ เวนน์ (Ronald Gerald Wayne) เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Apple Computer ร่วมกับ สตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) และ สตีฟ วอซเนียก (Steve Wozniak) โรนัลด์ เวนน์เป็นคนออกแบบโลโก้ของบริษัท Apple รุ่นแรก ซึ่งเป็นรูปเซอร์ไอแซก นิวตัน ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วงโลก กำลังอ่านหนังสืออยู่ใต้ต้นแอปเปิล เวนน์ถือหุ้น Apple Computer อยู่ 10% ในตอนนั้น แต่ก็ตัดสินใจขายหุ้นของบริษัททิ้งหลังจากถือมาเพียง 14 วัน ที่ราคาเพียง 25,600 บาท โดยเขาให้เหตุผลว่า ตัวเขาเองเพิ่งขาดทุนจากการทำธุรกิจสล็อตแมชชีน และเขาไม่เชื่อมั่นในธุรกิจของ Apple ในตอนนั้น ซึ่งดูแล้วน่าจะเจออุปสรรคอีกมาก ถึงแม้ว่า Apple จะล้มลุกคลุกคลานจริงอย่างที่นายเวนน์กลัว แต่หลังจากนั้นบริษัทก็เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 30 ล้านล้านบาท ถ้าคิด 10% จาก 30 ล้านล้านบาท ก็คือ 3 ล้านล้านบาท ถ้านายโรนัลด์ เวนน์ ยังถือหุ้น Apple อยู่ตอนนี้ เขาก็น่าจะเป็นหนึ่งในคนที่รวยที่สุดในโลก

ทั้งเควิน ซิสตรอม, อีวาน สปีเกล และโรนัลด์ เวนน์ ต่างเป็นบุคคลแห่งยุคผู้สร้างสิ่งใหม่ๆ ให้คนทั้งโลก แม้ว่าการตัดสินใจที่ผ่านมาอาจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือ เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาเสียโอกาสทำกำไรมหาศาล แต่นั่นอาจเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดแล้ว ในเงื่อนไข และปัจจัยต่างๆ ณ เวลานั้น ซึ่งบางทีการตัดสินใจขายธุรกิจให้คนอื่น ก็อาจจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกได้เช่นกันถ้าธุรกิจนั้นถึงจุดที่อิ่มตัวแล้ว แต่ถ้าเรายังมั่นใจว่าธุรกิจเรายังโตได้อีก ก็อาจจะเป็นการดีกว่าที่เราจะไม่ขายธุรกิจให้คนอื่น และพยายามทำให้ธุรกิจของตัวเองเติบโตต่อไป

สำหรับการประเมินค่าในการซื้อขายควบรวมกิจการ (M&A) อาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในด้านนี้เฉพาะ ทำให้ได้ดีลที่สมเหตุสมผล พอใจทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเรามีทีมงานและทรัพยากรที่เพียงพอในการให้บริการด้านนี้ สามารถดูรายละเอียดบริการของเรา หรือติดต่อ Line ID : plusitiveaccounting

บทความจาก longtunman.com

เรียบเรียงโดย Plusitive Accounting Team