“นิติบุคคล”
เชื่อได้ว่าคำนี้ผ่านหูใครหลายคน อาจทั้งในแวดวงธุรกิจและกฎหมาย วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่า จริงๆคำนี้ มีความหมายว่าอย่างไร มีขอบเขตแค่ไหน
สำหรับใครที่ต้องการอ่านเฉพาะบางหัวข้อ สามารถกดเลือกอ่านได้ที่นี่ครับ
นิติบุคคล
นิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสภาพบุคคลเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ดังนั้น นิติบุคคลจึงมีความสามารถเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น
- ความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา
- สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ เช่น ที่ดิน เงิน
- หน้าที่ในการเสียภาษี
- การเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้
นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะ ตามประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ถ้าจะถามว่าอะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง ต้องไปดูว่ากฎหมายสมมติให้อะไรเป็นนิติบุคคลบ้าง กฎหมายสามารถบัญญัติให้อะไรเป็นนิติบุคคลก็ได้ นิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้มีมากมาย จึงของแยกนิติบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่
- บริษัทจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
- สมาคม
- มูลนิธิ
2. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น
ข้อจำกัดของนิติบุคคล
โดยปกติ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่ก็มีสิทธิและหน้าที่บางอย่างที่โดยสภาพแล้วมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น นิติบุคลจะทำการจดทะเบียนสมรสไม่ได้ นอกจากนี้ ด้วนสภาพของนิติบุคคลย่อมไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ด้วยตัวเอง เพราะไม่มีสมองคิดเหมือนบุคคลธรรมดา
นิติบุคคลจะมีความสามารถ สิทธิ และหน้าที่ภายใน ขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล เท่านั้น และจะแสดงออกซึ่งสิทธิและหน้าที่ก็แต่โดยผ่าน ผู้แทนนิติบุคคล
ขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล คือ จุดมุ่งหมาย หรือขอบเขตแห่งอำนาจของนิติบุคคล พูดง่ายๆ ก็คือ นิติบุคคลนั้นตั้งมาเพื่ออะไร และจะทำอะไรได้บ้าง
ผู้แทนนิติบุคคล คือ ผู้ทำหน้าที่แสดงเจตนาแทนตัวนิติบุคคล เปรียบเสมือนเป็นตัวนิติบุคคลนั้นเอง
ตัวแทนนิติบุคคล หรือตัวแทน คือ ผู้ทำหน้าที่แทนตัวการ ตามสัญญาตัวแทน
สภาพนิติบุคคลเริ่มตั้งแต่
เมื่อจดทะเบียนตามกฎหมาย ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน
เมื่อพระราชบัญญัติที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นมีผลบังคับใช้ ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ ถิ่นที่ตั้งอันเป็นสำนักงานใหญ่
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคล
หลังจดทะเบียนบริษัท ประเภทของภาษีที่ต้องชำระอย่างถูกต้อง 5 ประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5. อากรแสตมป์
รายละเอียดของภาษีแต่ละตัว สามารถศึกษได้ที่นี่
เปลี่ยนธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็น นิติบุคคล ดีอย่างไร
ช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจคุณอาจจะเลือกจากจดทะเบียนบุคคลธรรมดาเพราะทำคนเดียวทุกอย่างมันสะดวกกว่าทั้งในด้านการตัดสินใจและไม่ต้องแบ่งผลกำไรให้ใคร แต่เมื่อคุณได้ดำเนินการเปิดกิจการมาสักระยะหนึ่งกิจการดำเนินไปด้วยดีมีคนสนใจอยากลงทุนกับคุณเพิ่มหรือคุณมีแพลนว่าจะขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น ต้องใช้งบมากขึ้นจึงจำเป็นต้องหาคนมาร่วมลงทุนเพิ่ม เมื่อคุณรู้แล้วว่าธุรกิจมีความต้องการเหล่านั้น สิ่งต่อไปที่คุณต้องทำคือดำเนินการจดทะเบียน นิติบุคคล ฉะนั้นวันนี้ก่อนที่จะไปจดทะเบียนอยากให้คุณดูข้อมูลที่เรานำมาบอก พูดถึงข้อดีต่าง ๆ ดังนี้
- หลายคนอาจพบเจอปัญหาธุรกิจขาดทุนในปีแรกหรือปีนั้น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่ในเรื่องของภาษีคุณไม่ต้องเสียภาษี เพราะสรรพากรคำนวณจากรายได้ของธุรกิจทั้งหมดตามจริง นี่จึงเป็นข้อดีอย่างหนึ่งสำหรับการจดเป็น นิติบุคคล
- หากคุณอยากให้บริษัทของคุณมีความน่าเชื่อถือต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล ธุรกิจยิ่งเติบโตมากยิ่งขึ้น
- เงินของคุณจะเป็นระบบมากขึ้น ระหว่างเงินส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจกับเงินในการใช้ดำเนินธุรกิจถูกแยกได้อย่างชัดเจน
- หากวันใดวันหนึ่งธุรกิจเกิดล้มละลายไปก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะสูญเสียทรัพย์สินทั้งหมดไปด้วย เพราะคุณยังมีกิจการหรือบริษัทเป็นหลักประกันอยู่
จะเห็นว่าการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดามาเป็นนิติบุคคล มีขั้นตอนและภาษีที่เกี่ยวข้องมากมาย ทาง Plusitive Accounting มีทีมงานที่มีประสบการณ์ให้บริการในด้านนี้ตั้งแต่บริการจดทะเบียนบริษัท ไปจนถึงการดูแลเรื่องการทำบัญชีตรวจสอบบัญชีและยื่นภาษีแบบครบวงจร สามารถรับคำปรึกษาจากเราได้ที่ Line ID : plusitiveaccounting
บทความจาก Prosmes
เรียบเรียงโดย Plusitive Accounting Team